ในสมัย MySQL ยังไม่ได้มาเป็นของ Oracle ฐานข้อมูล MySQL นี้ไม่มีหน้าตาครับ ส่วนใหญ่คนที่นำไปใช้บน Linux ไม่มีปัญหาเพราะ Linux เองก็ใช้ Command Line เป็นหลัก แต่ใน Windows แล้วเราๆ ท่านๆ ก็คงชินกับการมี GUI หากไม่มี GUI บางท่านจะมองว่าเป็นโปรแกรมที่ใช้ยาก น่ากลัว เป็นโปรแกรมที่ไม่ดี ไม่น่าเชื่อถือ ตรงนี้จึงเป็นช่องทางให้หลายๆบริษัททำเครื่องมือเพื่อใช้งาน MySQL ออกมาจำหน่าย หรือถ้าใครเขียน Web ด้วย php ก็จะมี phpMyAdmin เป็น OpenSource ให้ใช้บน Webform
ตอนนี้ไม่จำเป็นต้องเสียเงินซื้อ หรือใช้ phpMyAdmin อีกต่อไปเมื่อ Oracle ทำเครื่องมือให้ใช้ฟรี คือ MySQL Workbench
(ที่ดาวน์โหลด ให้ดูในตอนที่แล้ว)
การติดตั้ง MySQL Workbench 5.2.34
หลังจากดาวน์โหลดมาให้ดับเบิ้ลคลิ๊กเพื่อติดตั้ง
การติดตั้งไม่มีขั้นตอนอะไรที่ซับซ้อน
![]() |
หน้าต่างต้อนรับให้กด Next ได้เลย |
![]() |
หน้าต่างให้กำหนดที่อยู่ของโปรแกรมที่จะติดตั้งลงไป กำหนดเสร็จแล้วกด Next |
![]() |
หน้าต่างเลือกประเภทการติดตั้ง ผู้เขียนเลือกเป็น Complete แล้วกด Next |
![]() |
หน้าต่างสรุปการกำหนดค่าทั้งหมด ตรวจสอบแล้วกด Install เพื่อติตตั้ง |
![]() |
รอจนการติดตั้งสำเร็จ |
![]() |
ขั้นตอนการติดตั้งสำเร็จ กด Finish |
หน้าจอการใช้งานจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ
- SQL Developerment : จะเป็นการทำงานในส่วนของการเชื่อมต่อ สร้าง แก้ไข ฐานข้อมูล
- Data Modeling : จะเป็นส่วนของการออกแบบ EER ของฐานข้อมูล
- Server Administration : ส่วนของการจัดการ Database Server ในเรื่องต่างๆ
ตอนนี้โปรแกรมจะมองเห็นฐานข้อมูล MySQL ในเครื่องแล้ว ดูได้จากส่วน SQL Developerment จะมีรายชื่อการเชื่อมต่ออยู่ 1 ตัว และในส่วนของ Server Administration จะมองเห็น Database Server 1 ตัวเช่นกัน
ผู้เขียนจะทำการติดต่อกับฐานข้อมูล MySQL โดยคลิ๊กเมาท์ปุ่มขวาที่ instance connection แล้วเลือก Query Database
![]() |
จะมี Popup Dialog ถามรหัสผ่านของ root ให้ใส่รหัสผ่านของ root ที่ได้ตั้งไว้ในตอนติดตั้ง MySQL |
![]() |
จะเข้าสู่หน้าต่างการทำงานกับฐานข้อมูล โดยจะมีฐานข้อมูล test เอาไว้ให้แล้ว |
จากนั้นจะปรากฏหน้าต่างการสร้าง Table ใน Tab แรกจะเป็นการตั้งค่าของ Table คือ ชื่อของ Table , Character Set , Engine และ Comments
![]() |
ผู้เขียนทำการสร้าง Table ชื่อ "MYTABLE" |
![]() |
Tab Column ผู้เขียนสร้าง Column ขึ้นมา 4 Column |
![]() |
Tab indexes ผู้เขียนเพิ่ม idFIRST_NAME เป็น index ที่ Column FIRST_NAME จากนั้นกด Apply |
![]() |
โปรแกรมจะแสดงหน้าต่างคำสั่ง SQL Statement ที่สร้างขึ้นความความต้องการ เพื่อให้ตรวจสอบความถูกต้อง เมื่อตรวจสอบแล้วกด Apply |
![]() |
จากนั้นจะมีหน้าต่างแสดงสถานะการทำงาน หากเป็นตามภาพหมายความว่า Table ถูกสร้างแล้ว |
![]() |
ลองทำการเพิ่มข้อมูลใน Table ด้วยการคลิ๊กเมาท์ขวาที่ชื่อตาราง และเลือก Edit table Data |
![]() |
เพิ่มข้อมูลเข้าในแต่ละ Column แล้วกด Apply Changes to data |
![]() |
โปรแกรมแสดง SQL Statement คำสั่ง Insert ให้ตรวจสอบ หากถูกต้องแล้วกด Apply ได้เลย |
![]() |
ค่าที่กรอกลงไปก็จะถูกบันทึก จะเห็นได้ว่าค่าของ Column idMYTABLE เป็นข้อมูลประเภท INT และกำหนดให้เป็น Auto Incremental ที่ทำงานในรูปแบบของ Trigger ทำงานได้สมบูรณ์ |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น